ชื่อสถาบัน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อชุด 16 ลายโบราณบนผืนผ้าซิ่นตีนจก
แนวความคิด :
ลวดลายผ้าซิ่นที่ได้รับยอมรับว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ คือ “ผ้าซิ่นตีนจก” ของอำเภอแม่แจ่ม ในอดีตนั้นหญิงสาวชาวแม่แจ่มจะต้องสามารถทอผ้าซิ่นตีนจกได้ เพื่อใช้สวมใส่ในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะงานบุญประเพณีในท้องถิ่น
“ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม” มีลักษณะโดดเด่นด้วยเทคนิคการทอแบบพิเศษ เรียกว่า “จก” คือการทำลวดลายบนผืนผ้าด้วยการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ โดยใช้ขนเม่น หรือนิ้วมือจก คือยกเส้นด้ายเส้นยืนขึ้นแล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษที่ย้อมสีสลับสีตามลวดลายที่คิดไว้ เงื่อนของเส้นพุ่งพิเศษจะผูกเก็บปมไว้ ทำให้สวมใส่ได้ทั้งสองด้าน
ลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ได้แนวคิดมาจากธรรมชาติรอบตัว ความเชื่อ และพุทธศาสนา มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป
ลวดลายผ้า / ความโดดเด่น :
ผ้าตีนจกผืนนี้ ช่างทอผ้าที่เป็นชาวแม่แจ่ม ได้นำลวดลายผ้าที่พบในท้องถิ่นมาทอและจกให้เป็นผืนเดียวกัน ประกอบด้วยลวดลายต่างๆ จำนวน 16 ลาย ตามลำดับ ดังนี้
1) นกนอนกุม 2) นาคกุม 3) นกกุม 4) ขันแอวอุู 5) หงส์ปล่อย 6) ละกอนหลวง 7) ละกอนหน้อย 8) ขันละกอนหงส์สาม 9) หงส์เบ้า 10) กูดขอเบ็ด 11) โคมรูปนก 12) 13) หงส์บี้ 14) เชียงแสนหน้อย 15) ขันแอวสาม 16) เชียงแสนหลวง
ชื่อ-สกุล ผู้แสดงแบบ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชานาฏ สิตานุรักษ์
ถ่ายภาพโดย : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ช่องทางการติดต่อ : สำนักงานผู้อำนวยการ โทร. ๐๕๓ ๘๘๕ ๘๖๐ อีเมล์ ilaccmru@gmail.com
Facebook : https://www.facebook.com/ilaccmru
แหล่งผลิต ศูนย์หัตถกรรมบ้านท้องฝาย บ้านท้องฝาย หมู่ 8 ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่