สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ขอเชิญร่วมประกวด คลิปวิดีโออินโฟกราฟิก หัวข้อ “ประเพณีสงกรานต์ล้านนา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีโอกาสได้แสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจในการคิดและผลิตสื่อดีออกสู่สังคม ในการรณรงค์ให้เกิดการแต่งกายพื้นบ้านล้านนา โดยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การประกวด ดังนี้
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
๑.๑ มีสถานภาพเป็นนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
๑.๒ ส่งผลงานในประเภททีม ๆ ละ ๓-๕ คน สามารถส่งผลงานได้เพียงทีมละ ๑ ผลงาน
๑.๓ ผู้ส่งผลงานต้องเข้าร่วมเสวนาทางวิชาการเรื่องประเพณีสงกรานต์และการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ในวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔
เกณฑ์การประกวดคลิปวิดีโอ หัวข้อ “สงกรานต์ล้านนา”
๒.๑ เนื้อหาคลิปวิดีโอ มีความยาว ไม่เกิน ๑ นาที
๒.๒ ผู้สมัครจะต้องคิดคำขวัญ หรือสโลแกนที่ง่ายต่อการจดจำผลงานที่ส่งเข้าประกวด
๒.๓ ขอบเขตของเนื้อหาในคลิปที่ส่งเข้าประกวดภายใต้ หัวข้อ “สงกรานต์ล้านนา” เชื่อมโยงเนื้อหาในการมุ่งเน้นให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา คุณค่าความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ ตลอดถึงความสวยงามของชุดพื้นบ้านล้านนา อัตลักษณ์ของการแต่งกายในกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามและเหมาะสม โดยต้องมีชื่อและโลโก้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
๒.๔ ผลงานคลิป ต้องไม่ลบหลู่ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่ใช้ถ้อยคำ ที่เป็นการดูถูก ดูหมิ่น เสียดสี และก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม
๒.๕ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นผู้รับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิป วิดีโอซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทางผู้จัดโครงการฯ ไม่มีส่วนในการรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้ามีการตรวจสอบพบภายหลัง จะถือเป็นโมฆะและถูกเรียกรางวัลคืน
๒.๖ ความละเอียดของไฟล์ผลงานไม่ต่ำกว่า Full HD ๑๐๘๐ p (๑๙๒๐ x ๑๐๘๐) ประเภทไฟล์ wmv, mpg, mp4, mov, flv
๒.๗ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด และเงื่อนไขต่าง ๆ ของการประกวด โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
๒.๘ ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และผู้สร้างสรรค์งาน โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีสิทธ์ที่จะแก้ไข ดัดแปลง โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตผู้สร้างสรรค์ผลงาน
๒.๙ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
๓. หลักเกณฑ์การประกวด (๑๐๐ คะแนน)
๓.๑ การนำเสนอเนื้อหาและเทคนิคการเล่าเรื่อง ๓๐ คะแนน
๓.๒ ความคิดสร้างสรรค์ ๒๐ คะแนน
๓.๓ การใช้ภาษาและดนตรีประกอบ ๑๐ คะแนน
๓.๔ จำนวนไลค์คลิปใน Facebook ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ๔๐ คะแนน
๔. รางวัลการประกวด
รางวัลที่ ๑ | เงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร |
รางวัลที่ ๒ | เงินรางวัล ๔,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร |
รางวัลที่ ๓ | เงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร |
รางวัลชมเชย ๒ รางวัล ๆ ละ | เงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร |
* การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
๕. ระยะเวลาดำเนินการ
๕.๑ ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดสามารถกรอกแบบฟอร์มการรับสมัครได้ที่ www.culture.cmru.ac.th ภายในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๕.๒ ผู้สมัครต้องเข้าร่วมเสวนาทางวิชาการเรื่องประเพณีสงกรานต์และการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ในวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔
๕.๓ จัดส่งผลงานผู้เข้าประกวดส่งผลงานในรูปแบบของการ Linked File มาที่ อีเมล์ ilaccmru@gmail.com หรือส่งในรูปแบบ DVD ได้ที่ อาคารเทพรัตนราชสุดา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ๒๐๒ ถนนช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔
๕.๔ คณะกรรมการพิจารณาผลงานที่เข้าร่วมประกวด และ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำเสนอผลงานผ่าน Facebook (www.facebook.com/ilaccmru) เพื่อเก็บคะแนนจำนวน like คลิปผลงานที่เข้าร่วมประกวด ตั้งแต่วันที่ ๑ – ๑๕ เมษายน ๒๕๖๔
๕.๕ ประกาศผลรางวัล วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๔ ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕.๖ ผู้ชนะรับรางวัลในงานการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีสงกรานต์และรณรงค์การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา ประจำปี 2564 เดือนเมษายน 2564 (กำหนดการจะแจ้งให้ทราบ ภายหลัง)
หมายเหตุ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม โทรศัพท์ ๐๕๓-๘๘๕๘๖๐ / คุณโสภณ พรมจิตต์ มือถือ ๐๘๙-๗๕๕๕๖๕๔