กลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง

ลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง

“ไทยองหรือ ชาวยอง เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ที่ เมืองยองปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเชียงตุงประเทศพม่าในภาคเหนือขอไทย มีชุมชนชาวยองอาศัยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน” (ข้อมูลในแผ่นพับ)

ชาวไทยอง หรือ ชาวเมืองยอง ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ภายใต้กุศโลบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงค์ทิพย์จักราธิวงศ์  เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนา ภายหลังการยึดครองของพม่าสิ้นสุดลง

จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่นๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็น
คนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และเชียงใหม่ ในศตวรรษที่ ๑๙ ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง ๔ ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน ๒๐,๐๐๐ คน เข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง  ประเพณีของชาวไทยอง เป็นประเพณีฮ้องขวัญ ประเพณีส่งเคราะห์ และพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย

ส่วนจัดแสดง เป็นการแสดงถึงพิธีทำบุญเสาใจบ้าน หรือ เสาหลักเมือง และภาพวาดด้านหลังเป็นภาพวาดพระธาตุหน่อ เมืองลวง สิบสองปันนา แต่พระธาตุที่สำคัญของไทลื้อเมืองยอง
ก็คือ พระธาตุศรีใจ เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา 

Loading