กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

ลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

“ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และภาคเหนือของลาว ชาวไทลื้อในสิบสองพันนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยวนล้านนาในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาได้ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ในล้านนาจำนวนมากชาวไทลื้อนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามจารีตประเพณีทางพุทธศาสนา” (ข้อมูลในแผ่นพับ)

ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และภาคเหนือของลาว ชาวไทลื้อในสิบสองพันนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยวนล้านนาในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาได้ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ในล้านนาจำนวนมาก  ชาวไทลื้อนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามจารีตประเพณีทางพุทธศาสนา

เดิมชาวไทลื้อ  มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ ๑๒  จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื่องหาญ  ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา  ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน ๗๙๐ ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมืองครองราชย์  ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๕๗๙ –๑๕๘๓ (พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๒๖) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง  แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา ๑,๐๐๐ หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว)  ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง
จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้  ชาวไทลื้ออาศัยอยู่
สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น ๑๒ ปันนา และทั้ง ๑๒ ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ เช่น

ฝั่งตะวันตก : เมืองแช่ เมืองลวง เมืองหุน เมืองฮาย และเมืองมาง

ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า เมืองฮิง เมืองพง เมืองงาด์ เมืองอูเหนือและเมืองเชียงทอง

การขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยเจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น  จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วย เมืองยู้ เมืองยอง เมืองหลวง เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง)
เมืองแถน (เดียนเบียนฟู)  ซึ่งบางเมืองในแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงกก เมืองเชียงลาบ เมืองกลาง เมืองลอง เมืองอาน เมืองพูเลา เมืองเชียงดาว เมืองสิง เป็นต้น

ชาวไทลื้อ มักใช้สัญลักษณ์ นกยูง ซึ่งจะเห็นปรากฏในลวดลายบนผ้า และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และมักจะมีการทำตุงผ้า ส่วนใหญ่เป็นลวดลายช้างร้อย ม้าร้อย วัว ควาย ซึ่งมาจากเรื่องพระเวสสันดร ตอนไถ่ตัวกัญหา-ชาลี

กลุ่มชาติพันธ์  “ลื้อ/ยอง/ขึน (เขิน)”

“ลื้อ”   ชาวไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา  ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีประวัติการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปยังรัฐฉาน ประเทศพม่า
“ยอง”  ชาวไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองยอง  อำเภอหนึ่งของเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า
“ขึน/เขิน”  ชาวไทลื้อ (+ไทใหญ่?) ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า จีน ไทย และประเทศลาว ตั้งชุมชนหนาแน่นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำขึนเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า

 

ประวัติศาสตร์ “ลื้อ”

–  “เมืองลื้อหลวง” หรือ “ลือแจง”
–  “เมืองหนองแส” คุนหมิง ประเทศจีน
–  “ย่าคำแดง” ย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำโขง
–  “เมืองลื้อใหม่” แคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของประเทศจีน เมืองหลวง คือ เมืองเชียงรุ่ง
–  “เจ้าเจื๋องหาญ”  อาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่)  ศูนย์กลางหอคำเชียงรุ่ง ๗๙๐ ปี
–  “เจ้าอิ่นเมือง”  รัชกาลที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๒๖)  ชาวลื้อ ๒ ฝั่งโขง : ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก + เชียงฮุ่น (เชียงรุ่ง)
–  ตีเมืองแถง เชียงตุง เชียงแสน ล้านช้าง
–  “สยาม”  สมัยรัชกาลที่ ๑ ยุคเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ และเจ้าสุมนเทวราช  สมัยรัชกาลที่ ๕ ยุคเจ้าสุริยะพงษ์

ประวัติศาสตร์ “ยอง”

–  เมืองยอง รัฐฉาน ประเทศพม่า
–  “มหิยังคนคร”
–  อพยพครั้งสำคัญ  สมัยรัชกาลที่ ๑ “ลำพูน” เชียงใหม่ เชียงราย น่าน

ประวัติศาสตร์ “ไทขึน”

–  “แม่น้ำขึน” ไหวผ่านเมืองเชียงตุงจากตะวันตกขึ้นไปทางเหนือ แล้วไหลลงมาทางใต้
–  ไทขึน (พลเมืองหลักเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า  แทนที่กลุ่ม “ลัวะ”
–  ตำนานพื้นเมืองเชียงตุง

  • ชาวโยน กับ “เขินหลวง ๙๖ คน”
  • “เขินหลวง ๙๖ คน” กับการเป็นซามูไรในบัญชาของ “ยามาดะ นางามะซะ” อดีตขุนนางญี่ปุ่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยา

–  ประชากรหลัก “ลื้อ”

  • ไทย – เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน  พะเยา  ลำปาง แพร่  น่าน
  • ลาว – หลวงน้ำทา บ่อแก้ว  หลวงพระบาง
  • พม่า – เชียงตุง
  • เวียดนาม – เตียนเปียนฟู
  • จีน – สิบสองปันนา

ภาษา

–   ตระกูลภาษาไทกะได
–   ชาวไทลื้อมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง
–   ลักษณะเด่นของภาษาไทลื้อ คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงสระภายในคำโดยการเปลี่ยนระดับของลิ้น
–   เสียงบางเสียงจะแตกต่างไปจากภาษาไทยวน  เช่น สระเอีย เป็น เอ เช่น เมีย เป็น เม สระอัว เป็น โอ เช่น ผัว เป็น โผ สระเอือ เป็น เออ  เช่น เกลือ เป็น เกอ
–   เสียงวรรณยุกต์ของไทลื้อมี ๖ เสียง เหมือนภาษาไทยวนแต่มีลักษณะแตกต่างไป
–   คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทลื้อมักเป็นภาษาถิ่นตระกูลไท หรือ คำศัพท์ไทดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีความหมายซับซ้อนมากนัก

การแต่งกาย

ผู้หญิง ผู้ชาย
– “เสื้อปั๊ด” แขนยาวตัดเสื้อเข้ารูป เอวลอย มีสายหน้าเฉียงผูกติดกันด้วยด้ายฟั่นหรือแถบผ้าเล็ก ๆ ที่มุมซ้ายหรือขวาของลำตัว

–  สวมซิ่นไทลื้อที่มีลวดลายกลางตัวซิ่น  ส่วนหัวซิ่นเป็นผ้าฝ้ายสีดำหรือสีน้ำตาล ขาว ส่วนตีนซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ

–   โพกหัวด้วยผ้าสีขาว

–   เสื้อนิยมยกลอยขึ้นทั้งสองข้าง  สาบเสื้อขลิบด้วยแถบผ้าสีต่าง ๆ

–   ประดับด้วยกระดุมเม็ดเล็กเรียงกัน

–   โพกหัวด้วยผ้าสีขาว

Loading