กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่

ลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่

ชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิม อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เลยไปถึงลุ่มน้ำสาละวิน อิระวดี และพรหมบุตร เอกลักษณ์ของตระกูลชาติพันธ์ไทใหญ่ คือมีระบบการปลูกบ้านสร้างเรือนที่ซับซ้อนกว่าไทน้อย โดยบ้านมักจะมีการกั้นห้องแบ่งระดับยกหลังคาที่สลับซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ในสถาปัตยกรรมขั้นสูง มักจะมีการประดับตกแต่งมากกว่า  วัดของชาวไทใหญ่มีลักษณะแตกต่าง คือ กุฏิกับวิหารอยู่ด้วยกัน  โดยกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลนี้ ได้แก่ พวกไทใหญ่ (โทใหญ่เรียกตัวเองว่าไตหรือไตโหลง (ไทหลวง) ส่วนคำว่าไทใหญ่นั้นเป็นชื่อในภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อที่เขาเรียกตัวเอง

ชาวไทใหญ่ในจีนมักจะเรียกตนเองว่า ไทใหญ่เหนือ ด้วยอยู่ทางเหนือของแม่น้ำคงคา(สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใหญ่ใต้ เพราะอยู่ใต้แม่น้ำคง การแต่งกายของไทใหญ่ใต้ไม่นิยมโพกผ้า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เหนือโพกผ้าด้วยสีขาวหรือสีดำ หรือใช้หมวกทรงกระบอกสีดำ  ชาวไทใหญ่เมืองมาว จะถูกเรียกว่าเป็นชาวไทใหญ่มาว  มีปฐมกษัตริย์ชื่อว่า ขุนไล และมีวีรกษัตริย์ชื่อว่า เจ้าเสือข่วนฟ้า ชาวไทใหญ่ส่วนมากทั้งในประเทศพม่า อินเดีย จีน และไทย นับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้า มีวัฒนธรรมที่ชัดเจน จะเห็นได้จากศิลปะการแสดง ฟ้อนก้าลาย (ฟ้อนเจิง)  ฟ้อนนกกิ่งกะหล่า โดยในสมัยโบราณ เชื่อว่า ผู้ที่แสดงเป็นนกกิ่งกะหล่า จะต้องบริสุทธิ์ ถือศีล ๘ นอกจากนี้ยังมีภาษาไทใหญ่ที่ใช้เรียกทางศาสนา เช่น

–  จองพารา คือ  ปราสาทพระ
–  ตะลา คือ พระธรรม
–  สังขะ คือ พระสงฆ์
–  ตำข่อน คือ ตุง

ชาวไทใหญ่ได้เข้ามาอาศัยทำไร่ปลูกพืชตามฤดูกาล  เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วก็เดินทางกลับเข้าไปในดินแดนรัฐฉานดังเดิม ทำเช่นนี้จวบจนราว พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบอาชีพด้วยการปลูกพืช ทำไร่ ทำนา และในปีพ.ศ. ๒๓๙๓ เมืองเชียงใหม่ได้ส่งเจ้าแก้วเมืองมาให้มาจับช้างป่าและนำไปฝึกสอนเพื่อนำไปใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาได้รวบรวมชาวไทใหญ่ที่ยังอยู่กระจัดกระจายให้มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณที่ตั้งเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบัน  จากระยะเวลาอันนานร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็ยังดำรงชีวิตอยู่  โดยยึดเอาวัฒนธรรมประเพณี  ตลอดจนความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่าง “ไทใหญ่” ตลอดมาและขณะเดียวกันก็ยังคงมีความผูกพันฉันท์พี่น้องกับชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า  มีการติดต่อค้าขาย ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนกันตลอดมาแม้ว่าในบางครั้งจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองบ้าง ก็ยังคงมีการติดต่อกันอยู่เสมอ เดิมชาวไทใหญ่ได้อาศัยในรัฐฉานประเทศพม่าและบางส่วนได้อพยพอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อีกกลุ่มหนึ่งลงไปตามน้ำ “คง” หรือแม่น้ำสาละวินและได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ ๒ ฝั่งแม่น้ำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่าในแถบรัฐฉานโดยได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาใหม่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกับศิลปวัฒนธรรมพม่า แต่ก็แตกต่างไปจากวัฒนธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทยที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบล้านนา   นอกจากนั้นบทบาทของพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่ ก็มีส่วนอย่างมากต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างรัฐไทใหญ่และล้านนาในช่วงคริสศตวรรษที่ ๑๙-๒๐

กลุ่มชาติพันธ์  “ไทใหญ่”  คนไต  ไตโหลง – ไตหลวง  ฉาน/ฌาน

ถิ่นฐาน-ประวัติศาสตร์

  • กลุ่มใหญ่เป็นอันดับ ๒ อยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์
  • บางส่วนอยู่บริเวณดอยไตแหลง ชายแดนไทย พม่า
  • พศว. ๒๔-๒๕ เกิดการแบ่งเขตแดนในช่วงล่าอาณานิคมโดยชาวตะวันตก ทำให้บ้านเมืองของชาวไทใหญ่ถูกแบ่งแยก
  • ผู้คนอพยพ กระจัดกระจายไปหลายประเทศ
  • ตำนาน “เมืองเมา” เมืองแสนหวี เมืองปง

พม่า   –  รัฐฉาน  รัฐกะเหรี่ยง  รัฐคะฉิ่น  มัณฑะเลย์
ไทย  –  เชียงใหม่   แม่ฮ่องสอน  เชียงราย

ภาษา

  • ตระกูลภาษาไท – กะได
  • เป็นภาษาที่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง
  • ภาษาไทใหญ่ / ภาษาฉาน / ความไท (กว๊ามไต๊)
  • ไม่มีข้อมูลภาษาพูดที่แน่ชัด
  • มีอักษรของตนเอง ๒ ชนิด คือ ไทใหญ่ (ใช้ในพม่า) และไทใต้คง (ใช้ในจีน)
  • มีการใช้คำไทใหญ่ ปน “ม่าน”

การแต่งกาย

ชาย

  • สวมเสื้อคอกลมแขนยาว ผ่าหน้า ติดกระดุมผ้า คล้ายไส้ไก่ขมวดเป็นปมพร้อมตกแต่งลวดลาย
  • สวมกางเกงขาก๊วยเป้าต่ำ

หญิง

  • สวมเสื้อผ่าหน้าหรือเสื้อป้าย แขนกระบอก เอวสั้น ตกแต่งลวดลายสวยงามด้วยการปักหรือ
    ฉลุผ้าตามขอบ
  • กระดุม ที่กลัดเสื้ออาจจะใช้กระดุมผ้าหรือพลอยกลัดกับหูกระดุม
  • ซิ่นที่นุ่งนั้นมีการต่ดหัวซิ่นด้วยผ้าเนื้อนิ่มสีดำ พับแล้วเหน็บที่หัวซิ่น ใช้เข็มขัดเงินคาดทับ
  • โพกหัวพันผ้าห้อย

 

ประเพณีสำคัญ

ปอยส่างลอง   (ปอย แปลว่า พิธี ,  ส่างลอง แปลว่า คนที่จะบวชเป็นเณร)

Loading