อบรมศิลปะการแกะสลัก การลงรักปิดทองไม้บัญชักและไม้ประกับธรรม

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดการอบรมศิลปวัฒนธรรม ศิลปะการแกะสลัก และการลงรักปิดทอง ไม้บัญชักและไม้ประกับธรรม โดย นายพุทธิคุณ ก่อกอง ระหว่างวันที่ 20 – 21 และ 27 – 28 สิงหาคม 2559 ณ อาคารเทพรัตนราชสุดา

Loading

อนุรักษ์ผ้าไทย ราชภัฏเชียงใหม่ เทิดไท้ ราชินี

นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการเผยแพร่และรณรงค์การแต่งชุดพื้นบ้านไทยล้านนา “อนุรักษ์ผ้าไทย ราชภัฏเชียงใหม่ เทิดไท้ ราชินี” วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ ศาลาร่มโพธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรพินทร์ ศิริบุญมา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ นายอนันต์ สุคันธรส และอาจารย์สุพจน์ ใหม่กันทะ ผลการประกวดมีดังต่อไปนี้ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายวรวิช อินต๊ะลือ และ น.ส. ชนกนันท์ ฝีปากเพราะ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายกฤษฎา มณี และ น.ส. อาทิตยา นันตาเวียง รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติ นายสุทธิพร แมคเวล และ น.ส. อรชดา ไชยสาร นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ “ธิดาน้อยผ้าล้านนา” จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดีกรีรางวัล “ธิดาน้อยผ้าล้านนา” ในการประกวดงานมหกรรมผ้าไทย ประชารัฐเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชินี ณ ห้างพรอมเมนาดา รีสอร์ท มอลล์ เชียงใหม่ โดย ด.ญ. สุขุมาภรณ์ หมอดู (น้องดอกคูน) ได้รับรางวัลชนะเลิศ และ ด.ญ. ฐิติกาญจน์ บริรักษ์ (น้องน้ำอิง) ได้รับรางวัลชมเชย การแสดงการเดินแฟชั่นโชว์ “พัตราภรณ์แห่งขุนเขา ใต้ร่มเกล้าราชินี” ผลงานการออกแบบโดยการนำผ้าปักชาวเขามาใช้ตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันตามสมัยนิยม ออกแบบและตัดเย็บชุด โดยนักศึกษากลุ่มวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเดินแบบโดยนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ควบคุมโดย อ. ศิริจันทร์ อุปาละ และ อ. จินตนา อินภักดี การแสดงแฟชั่นโชว์นาฏลีลา “พิศอาภรณ์ ไทปัญจสาขาวัตถานาฏกรรม” โดยนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำเอาเครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธ์ในล้านนา ที่ใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวัน 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยวน ไทลื้อ ไทยอง ไทเขิน และไทใหญ่ ในรูปแบบนาฏลีลาแฟชั่นโชว์ เพื่อให้ทุกท่านได้รับชมเครื่องแต่งกายผ่านหนุ่มสาว ที่ต่างพาพันอวดเส้นสายลายผ้าก่อนที่จะร่วมกันไปทำบุญ ควบุคมโดย อ. ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ นายจักรกฤษณ์ แสนใจ และทีมงานคุ้มดอกเอื้อง และการแสดงฟ้อนเจิงดาบ โดยนักศึกษาชมรมรักษ์ภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมยังได้มีโอกาสชมนิทรรศการผ้าไหมสันกำแพง จากศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ผ้าไหมสันกำแพง กาดหมั้วคัวฮอม ของกินของใช้ล้านนา

Loading

ฝึกอบรมหลักสูตร ศิลปะการประดิษฐ์โคมลอยล้านนา

เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดการอบรมหลักสูตรศิลปะการประดิษฐ์โคมลอยล้านนา ณ ห้องฝึกอบรม ชัี้น ๒ อาคารเทพรัตนราชสุดา โดยมีพ่อครูพลเทพ บุญหมื่น ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา จากโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เป็นวิทยากร มีอาจารย์ นักศึกษาให้ความสนใจเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งเยาวชนรุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาต่อไปในภายภาคหน้า

Loading

การอบรมหลักสูตรศิลปะประดิษฐ์เครื่องประดับ

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมศิลปวัฒนธรรมไทยให้กับนักศึกษาชาวญี่ปุ่น จำนวน ๑๕ คน จาก Osaka Kyoiku University และ Kyoto University of Education นำโดย Assoc. Prof. Naomasa Sasaki จาก Kyoto University of Education ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ และ ๒๒-๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องฝึกอบรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งโครงการนี้จะส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีให้แก่ศิลปวัฒนธรรมไทย และมีส่วนช่วยในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่นิยมในระดับนานาชาติต่อไป โดยในวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ เป็นการอบรมหลักสูตรศิลปะการประดิษฐ์เครื่องประดับ ซึ่งมีอาจารย์จันทร์สุดา คำขัติ เป็นวิทยากร และมี อาจารย์สารนิช พละปัญญา พร้อมทั้งนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้ความอนุเคราะห์เป็นล่ามแปลภาษา

Loading

การอบรมหลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารไทย

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมศิลปวัฒนธรรมไทยให้กับนักศึกษาชาวญี่ปุ่น จำนวน ๑๕ คน จาก Osaka Kyoiku University และ Kyoto University of Education ในระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ และ ๒๒-๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องฝึกอบรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม โดยในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ เป็นการอบรมหลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารไทย (ต้มยำกุ้ง และทับทิมกรอบ) ซึ่งมีอาจารย์มยุรี ชมภูงาม เป็นวิทยากร พร้อมทั้งบุคลากร และนักศึกษาสาขาคหกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.วิลาวัณย์ หงษ์อนุรักษ์ พร้อมทั้งนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ให้ความอนุเคราะห์เป็นล่ามแปลภาษา

Loading

1 25 26 27 28 29 33