อบรม “รู้ทันความเสี่ยงในการบริหารงานและรู้จักควบคุมภายในองค์กร”

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดโครงการอบรมสัมมนา “รู้ทันความเสี่ยงในการบริหารงานและรู้จักควบคุมภายในองค์กร” โดยมีวิทยากรได้แก่ คุณวราภรณ์ ฟูกุล ผู้อำนวยการกองสำนักงานคุณภาพและมาตราฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คุณนิตยา ใจกันทา นักวิชาการศึกษา สำนักงานคุณและมาตราฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอาจารย์พรรณิศา คำภูเวียง หัวหน้าสำนักแผนและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทิร์น จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2559 ณ สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

Loading

การเสวนา “การขับขานและดนตรีล้านนา จากพับสา ใบลานและเรื่องเล่า”

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้จัดการเสวนาวิชาการองค์ความรู้จากใบลาน เรื่อง “การขับขานและดนตรี จากพับสา ใบลานและเรื่องเล่า” ณ ห้องเจนีวา โรงแรมเมอร์เคียว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการเสวนาวิชาการประจำปีของศูนย์ใบลานศึกษา โดยมีวิทยากร คือ…. ๑) พ่อบุญรัตน์ ทิพยรัตน์ เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา พ.ศ.๒๕๕๙ ด้านการผลิตเครื่องดนตรี ๒) พ่อสมพงษ์ ขัตต์เนตร เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา พ.ศ.๒๕๕๙ ด้านดนตรีล้านนา ๓) ผศ.ธิติพล กันตีวงศ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๔) อ.สงกรานต์ สมจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ๕) คุณศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ในการเสวนาดังกล่าว มีนักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ประมาณ ๖๐ คน โดยในเวทีเสวนาดังกล่าว วิทยากรได้บรรยายความรู้เกี่ยวกับแนวทางการศึกษาดนตรีในมิติต่างๆ การศึกษาเรื่องราวของการขับขาน การละเล่น และเครื่องดนตรีที่พบในจารึก ใบลาน พับสา ภาพลายเส้น ภาพถ่าย และจิตรกรรมต่างๆ รวมถึงศิลปวัตถุ ไฟล์บันทึกเสียง และวีดีทัศน์ ซึ่งการขับขานและเครื่องดนตรีบางอย่างถูกลืมเลือนไป และมีการรับเครื่องดนตรีจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่นมาใช้ในล้านนาด้วย โดยสามารถแบ่งพื้นที่หรือบทบาทของการบรรเลงดนตรีออกเป็น ๒ ลักษณะ คือดนตรีเพื่อความบรรเทิงในชีวิตประจำวัน และดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม ส่วนด้านการผลิตเครื่องดนตรีและการบรรเลงดนตรีในปัจจุบันก็มีความแตกต่างกับอดีตบ้าง มีการปรับเปลี่ยนเป็นไปตามกระแสการยอมรับ เทคนิคหรือวัสดุในการผลิต และสภาพสังคมของแต่ละยุคสมัย เช่น รูปแบบการถ่ายทอดก็ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของผู้เรียน (เปลี่ยนจากการฝึกด้วยการตำเสียงหันมาใช้โน๊ตดนตรีแทน) ในช่วงท้ายของการเสวนาก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบคำถามของผู้เข้าร่วมเสวนา คณะผู้จัดงานยังได้จัดทำเอกสารประกอบการเสวนา ซึ่งประกอบด้วย บทความของวิทยากร บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการการขับขานและดนตรี รวมถึงได้จัดนิทรรศการ “การขับขาน การละเล่น และดนตรีในจิตรกรรม”เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชมด้วย

Loading

พิธีสระเกล้าดำหัวฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี 2559

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีสระเกล้าดำหัวอธิการบดี คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรอาวุโส เนื่องในงาน “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2559” เมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559 ณ สนามจตุราคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยภายในงานกิจกรรมการเเข่งขัน ส้มตำ ลาบพื้นเมือง เเละขบวนแห่เครื่องสระเกล้าดำหัว เเละร่วมรับพรปีใหม่จากท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Loading

ร่วมงาน “ไหว้สาพระญามังรายสร้างแป๋งเมืองเชียงใหม่ ครบรอบ 720 ปี”

93 รูปภาพ · Updated 6 เดือนที่แล้ว
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำนักศึกษาชมรมรักษ์ภาษาและวัฒนธรรม และนักศึกษาคณะต่างๆ เข้าร่วมขบวนแห่ และการแสดงฟ้อนก่ายลาย เข้าร่วมจัดงาน “ไหว้สาพระญามังราย สร้างแป๋งเมืองเชียงใหม่ ครบรอบ 720 ปี” ในความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 19 เมษายน 2559 โดยจัดทำพิธีทำบุญ ณ วัดเชียงมั่น และร่วมเดินขบวนจากวัดไปยังหอพระญามังราย เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระญามังรายผู้สร้างเมือง และแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพชน ทั้งนี้การเข้าร่วมงานครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับเครือข่าย ที่มีทั้งชุมชน ภาครัฐ เอกชน ทำให้เห็นถึงความสามัคคี กลมเกลี่ยว นอกจากนี้ในช่วงบ่าย ยังได้เข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ล้านนา ณ สถาบันวิจัยและสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Loading

เข้าร่วมขบวนสักการะกู่เจ้าหลวง

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม นักศึกษาชมรมรักษ์ภาษาและวัฒนธรรม ร่วมกับสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการเข้าร่วมริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องสักการะกู่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ ณ วัดสวนดอกพระอารามหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 17 เมษายน 2559 จัดโดย สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีหน่วยงาน สถานศึกษา และองค์กรต่างๆ เข้าร่วม วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมกันรำลึกถึงปูชนียบุคคลของชาวล้านนา ตลอดจนร่วมแสดงความกตัญญูกตเวทิตาที่เจ้าหลวงเชียงใหม่ และทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือ ที่ได้ร่วมกันกอบกู้อิสรภาพ และปกครองล้านนาให้อยู่เย็นเป็นสุขมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

Loading

1 64 65 66 67 68