กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน/ไทเขิน

กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน/ไทเขิน

“ชาวไทเขินหรือไตขึนเป็นประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดของเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า คำว่า ไตขึน (ตามสำเนียงของคนเชียงตุง) สันนิษฐานว่าเรียกตามชื่อแม่น้ำสายหนึ่งซึ่งไหลไปทางทิศเหนือเพราะสภาพพื้นที่สูงชันในทางทิศใต้ จึงชื่อว่าแม่น้ำขึน ต่อมาเรียกชาวไตขึนว่า ไทเขิน ชาวไทเขินอาศัยอยู่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยอพยพเข้ามาในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” กลุ่มชาติพันธุ์ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยองมีความคล้ายคลึงกันในด้านภาษาและการดำรงชีวิต” (ข้อมูลในแผ่นพับ)

ไทขึน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า และภาคเหนือของประเทศไทย  ชาวไทขึน หรือไทยเรียกว่า ไทเขิน เป็นพลเมืองหลักของเมืองเชียงตุง ที่เข้ามาแทนที่
ชนพื้นเมืองที่ตั้งรกรากอยู่ก่อนหน้าคือชาวลัวะ จากแต่เดิมไทเขินเข้าไปอยู่ปะปนก่อนหน้านี้ ที่มาของคำว่า “ขึน”สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามแม่น้ำขึน  ซึ่งไหลผ่านเมืองเชียงตุงจากตะวันตกขึ้นไปทางเหนือแล้วไหลลงใต้แปลกจากแม่น้ำสายอื่น จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า “ขืน” ด้วยเหตุนี้พลเมืองที่อาศัยอยู่ตามสองฝั่งน้ำจึงเรียกตนเองว่า “ขึน” หรือ “ไตขึน” ภาษาไทเขิน มีความคล้ายและใกล้เคียงกับภาษาไทยองและไทลื้อมาก  ทั้งยังคล้ายกับภาษาไทยวนต่างเพียงแค่สำเนียง  และการลงท้ายคำ ซึ่งชาวเขินแบบได้เป็นสามกลุ่ม คือ ขึนก่อ ขึนแด้ และขึนหวา ยกตัวอย่าง ละซังก่อแต้ บะซังก่อหวา (อะสังก๊อนะ-จอมทอง / อะหยังก๊อนะ-เวียงเชียงใหม่) ชาวไทขึนมีความเชื่อเรื่องผีเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทอื่นๆ แม้หลังการรับศาสนาแล้วความเชื่อดังกล่าวก็ยังคงอยู่

นอกจากนี้ยังนับถือกบและนาคเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ ดังปรากฏในพิธีปั้นกบ เรียกฝนในช่วงสงกรานต์ และแห่งู  ซึ่งตรงกับส่วนจัดแสดงที่แสดงถึงประเพณีสงกรานต์

Loading