กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ/เลอเวือะ/ละเวือะ

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ/เลอเวือะ/ละเวือะ

“ลัวะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ตำนานเมืองทางเหนือกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะเป็นชนกลุ่มดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแหลมอินโดจีนจนถึงลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) และแม่น้ำเขินในเชียงตุง  ตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวถึงลัวะที่อาศัยอยู่ในล้านนาและดำรงตนตามวิธีธรรมชาติในเมืองเชียงใหม่  ชาวลัวะอาศัยอยู่บริเวณ
เชิงดอยสุเทพและเวียงเจ็ดลินผู้ปกครองคนสุดท้ายชื่อ ขุนหลวงวิลังคะ”
(ข้อมูลในแผ่นพับ)

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ/เลอเวือะ/ละเวือะ  เป็นกลุ่มที่อาศัยบริเวณภาคเหนือของไทย  โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่  ชาติพันธุ์ละเวือะ นับถือผี ศาสนาพุทธ และคริสต์ ทั้ง ๒ นิกาย
โดยลัวะเชื่อว่าตนเองนั้นมีผีเยอะกว่าคนเมือง ในสมัยยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองนั้น ลัวะได้เก็บผีและ
มัดปากถุงไว้ แบกใส่หลังมา
  ผู้หญิงละเวือะ จะนิยมสวมสร้อยลูกปัดสีส้ม แดง เหลือง สวมเสื้อสีดำหรือขาว
ใส่ต่างหูเงิน ทรงระฆัง หรือ งาช้าง นุ่งผ้าซิ่นสีดำ แถบสีแดงหรือชมพู หญิงสูงอายุนิยมสูบกล้องยาสูบ
ฝ่ายชายนิยมสวมเสื้อสีขาว วิถีชีวิตของชาวละเวือะ เรียบ ง่าย มีการทำเกษตรภายในครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกโต๊ะโกละ (ผักกาด) อาหารจานเด็ด คือ ซเบี๊อก (คล้ายลาบ)  ชาติพันธุ์ละเวือะเป็นชาติพันธุ์สำคัญ
มีการอ้างอิงว่า เป็นคนดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่
เนื่องจากมีลักษณะของเรื่องเล่า  หรือเงินตรา
คล้องจองกัน แต่หลังจากไฟไหม้ครั้งใหญ่  จึงได้อพยพสู่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ภาษาละเวือะจะมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน 

ห้องแสดงของลัวะ เป็นการจัดแสดงวิถีชีวิตของคนลัวะ บ้านของคนลัวะ จะมีห้องเดียว ซึ่งเป็นทั้งห้องนอน ห้องครัว ซึ่งจะทำให้อากาศอบอุ่น บริเวณเตาจะแสดงถึงวิธีการต้มเหล้า หมู่บ้านจะมีเสาสะก้า คือ เสาใจบ้าน คล้ายๆ กับเสาหลักเมือง เวลาไปทำนา จะต้องมีการไหว้ โดยจะต้องมีเงิน เหล้า และไก่ มีพิธีเลี้ยงผีไฟ ผีไร่ ผีฝาย ผีเขา และผีป่า

ในการบรรยายควรลำดับการบรรยายดังต่อไปนี้

 

ชื่อเรียก ถิ่นฐาน-

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์

ภาษา วัฒนธรรม
“ละว้า” (ชื่อที่คนทั่วไปเรียก)

“เลอเวือะ”  (ชื่อที่กลุ่มตนเองเรียก)

คนละว้า – “ญัฮกุร”

ลุ่มน้ำแม่แจ่ม แม่สะเรียง สาละวิน ตระกูลภาษามอญ-เขมร

กลุ่มภาษาปะล่อง-ว้า

 

ญาติข้างพ่อ

สะมัง (…….)

ขุนหลวงวิลังคะ

นับถือผี

  ลุ่มน้ำปิง วัง อิง โขง ตระกูลภาษามอญ-เขมร

กลุ่มภาษาปะล่อง-ว้า

ไม่นับถือสะมัง

ขุนหลวงวิลังคะ

ปู่แสะ ย่าแสะ

นับถือผี (น้อย)

  น่าน แพร่ พะเยา ตระกูลภาษามอญ-เขมร

กลุ่มภาษาขะมุ

มัล ปรัย

ญาติข้างแม่

ไม่มีระบบสะมัง

ไม่นับถือขุนหลวงวิลังคะ

 

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ  เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานเป็นรัฐก่อนอาณาจักรล้านนา สมัยก่อนพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ ๑๓๐๐ ปีมาแล้ว ก่อนเม็ง/มอญจะนำความเจริญมาสู่ลุ่มน้ำปิง ถิ่นกำหนดที่แท้จริงไม่แน่ชัด เชื่อกันว่าอพยพมาจากตอนใต้ของไทย มลายา เขมร ๒๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว –เชื่อสายเดียวกับว้าในพม่าและยูนนาน ในจีน ถิ่นฐานเดิม เวียงเจ็ดริน (เมืองเชษฐบุรี) – ดอยสุเทพ เรียกว่า  “เมืองชวงไมย” ซึ่งภายหลังกลายมาเป็น “เชียงใหม่”

ประวัติศาสตร์ เชื่อว่า พญาสระเกศ พญาวีวอ เป็นผู้ปกครองชาวลัวะ

–  ความวุ่นวายจากการรบกวนของภูติผีปีศาจ

–  พระอินทร์ช่วยเหลือ – ขอคำสัตย์ให้ชาวลัวะถือศีล ๙ ตระกูล

–  ประวัติศาสตร์สิ้นสุดลง พ.ศ. ๑๒๐๐ สมัยขุนหลวงวิลังคะ – พระนางจามเทวี

–  ขุนหลวงวิลังคะ ผู้ปกครองเมืองที่มีอาคมแก่กล้า  ปรารถนาพระนางจามเทวี เมืองหริภุญชัย

–  ทำเล่ห์กลโดยใช้ใบพลูสอดในช่องคลอดสตรี มาถวายขุนหลวงวิลังคะ

–  ความเชื่อเรื่องใบพลู – ชาวลัวะฉีกทิ้งเมื่อต้องการกินหมาก

–  เสาสะกั้ง / เสาอินทขิล (อินท-พระอินทร์ / ขีล – เสา)

–  เสาผีบรรพบุรุษ – เลี้ยงผีสิ้นปีหลังเก็บเกี่ยวประมาณตุลาคม

–  พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ “…พญามังรายจึงมีบัญชาให้แต่งเครื่องบรรณาการใช้ให้เสนาชื่อสรีกรชัยผู้พูดภาษาละว้าได้ ไปหาพญาละว้าบนดอยอุซูบรรพต  พญาละว้าแนะนำว่า เวียงนี้หากจะให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขก็ให้บูชากุมภัณฑ์และเสาอินทขิล…”

 

ความสัมพันธ์กับ “เชียงใหม่”

–   สมัยพระเจ้ากาวิละ (๒๓๒๕-๒๓๕๖) ยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ “…แล้วเถิงเวลายามแตรจักใกล้เที่ยง ท้าวก็ยกเอาหมู่ยศบริวารเข้าเวียงหลวง ด้านประตูช้างเผือกหนเหนือหื้อละว้าจูงหมาพาแชกเข้าก่อนไปสถิตสำราญนอนเชียงขวางหน้าวัดเชียงหมั้นได้คืนหนึ่ง…”  (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่)

–  ถิ่นที่อยู่อาศัย ในจังหวัดเชียงใหม่ พบใน อำเภอเชียงดาว แม่แจ่ม อมก๋อย ฮอด และสะเมิง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบในอำเภอแม่สะเรียง แม่ลาน้อย ปางมะผ้า และขุนยวม

ภาษา  ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)  สายมอญ-เขมร  (Mon-Khmer)  เป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์  วรรณกรรมมุขปาฐะ  “ละซอมแล”  และไม่มีภาษาเขียน

การแต่งกาย

การแต่งกายในชีวิตประจำวัน การแต่งกายในพิธีกรรม
ผู้หญิง 

–   เสื้อ สีขาวแขนกุ๊นด้วยด้ายสี

–   ซิ่น ผ้าพื้นสีดำ มีลายผ้าเป็นแถบยาวนอนคั่นตลอดผืนผ้า มีขนาดแนบพอดีตัว นิยมใส่กางเกงวอร์มในผ้านุ่ง

–   ปอเต๊ะ ผ้าพันแขน / ปอชวง ผ้าพันแข้ง

–   ทรงผม นิยมไว้ยาว ม้วนมวยประดับปิ่นเงิน

–   เครื่องประดับ สร้อยลูกปัดหลากสี / โบระ (ต่างหูเงินรูประฆังหงาย) / สกุนลอง (กำไลสวมแข้งเส้นเล็กทำด้วยฝ้ายเคลือบยางรัก) / สกุนเลีย (กำไลทองเหลือง) ฯลฯ

ผู้หญิง

–   พิธีเลี้ยงผีฟ้าผ่า แต่งงาน งานศพ สวมเสื้อสีดำทับสีขาว

–   ใช้ผ้าสีแดง เหลือง ขาวคลุมหน้า

 

ผู้ชาย

–   ปัจจุบันนิยมแต่งกายอย่างคนพื้นราบ

–   สะพายย่ามไม่ปักลวดลาย ที่มีจุดเด่นที่การเย็บรอยตะเข็บต่าง ๆ อย่างประณีต

 

ผู้ชาย

–   สวมเสื้อแขนยาวสีขาวทับเสื้อยืด

–   เหน็บมีดงาช้างข้างลำตัว

–   โพกศีรษะด้วยผ้าแดง / ชมพู

–  ถ้าเป็นเจ้าบ่าว – นุ่งผ้าคล้ายโจงกระเบนทับกางเกง

 

ที่อยู่อาศัย  มักจะอาศัยอยู่ในหุบเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐ ฟุต อยู่ใกล้น้ำ  ลักษณะบ้าน ยกพื้นสูง ๒–๒.๕ เมตร ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ หลังคาทำด้วยใบคาคลุมเกือบถึงพื้นดิน มีเตาไฟกลางบ้าน  ชายคาวางครกกระเดื่อง วางแนวบ้านไม่ขนานการเดินทางดวงอาทิตย์  ในบ้านจะมี ๑ ห้อง มีเตาไฟในบ้าน มีเครื่องเลี้ยงผีที่มุมห้อง หากลูกชายแต่งงาน จะแบ่งห้องด้วยการกั้นแผงไม้เตี้ยๆ

Loading