กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน
“คนไทยวนหรือไตโยน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองโยนกเชียงแสนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อพ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังรายได้สถาปนาเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีกลุ่มคนไทยวนหรือคนไตได้กระจายอยู่ในภูมิภาคที่เรียกว่าอาณาจักรล้านนา ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก เป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มักเรียกตนเองว่า คนเมือง ชาวไทยวนอาศัยอยู่ในเขต จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน และแพร่ รู้จักในนามไทยล้านนามีภาษาพูดใกล้เคียงกับ พวกไทลื้อ และไทเขินปัจจุบันชาวไทยวนรับอิทธิพลของไทยภาคกลาง” (ข้อมูลในแผ่นพับ)
ชาวไทยวนมีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรของชาวไทยวนมีใช้มาเป็นเวลานานแล้ว เรือนของชาวไทยวนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด
ในส่วนจัดแสดง ได้แสดงถึง พิธีสืบชะตา พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุขความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย และประเพณีตั้งธรรมหลวง หมายถึงการฟังพระธรรมเทศนาเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญ เพราะธรรมหลวงที่ใช้เทศน์มักจะเป็นเวสสันดรชาดก อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้มาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์
กลุ่มชาติพันธุ์ “ไท-ยวน” ไท-ยวน ไตยวน ไทยล้านนา ไทโยนก “คนเมือง”
ถิ่นฐาน
– โยนกเชียงแสนนคร / นาคพันธุ์สิงหนวัติ / โยนกนาคนคร / โยกนกไชยบุรีศรีช้างแสน
– พระเจ้าสิงหนวัติ (ปฐมกษัตริย์)
– พระมหาไชยชนะ (กษัตริย์องค์ที่ ๔๖) *ล่มจมเป็นหนองน้ำ *ตำนานปลาไหลเผือก
ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
– สิ้นยุคราชวงค์เชียงแสน
– ยุคสมัยเวียงปรึกษา (ขุนลัง – เวียงเปิกษา / เวียงปรึกษา)
– ยุคสมัยราชวงค์หิรัญเงินยาง (ลวจกราช – ปฐมกษัตริย์)
– ยุคสมัยพญาเม็งราย
– ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
– คนยวนในเชียงแสนแตกกระจาย
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ประเทศไทย – เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย สระบุรี ราชบุรี นครราชสีมา
ลาว – หลวงพระบาง บ่อแก้ว หลวงน้ำทา
ภาษา
– ตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ : กลุ่มภาษาย่อยภาษาเชียงแสน-ภาษาไทยถิ่นเหนือ
– เป็นภาษาที่มีระบบเสียงวรรณยุกต์
- ในภาษาถิ่นพายัพ เรียกว่า “กำเมือง” (รูปปริวรรต : คำเมือง) อันแปลว่า “ภาษาของเมือง” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ภาษาล้านนา” ส่วนชาวยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกภาษาของตนว่า “ภาษาลาว”
- ภาษาไทยมาตรฐาน เรียกว่า “ภาษาถิ่นพายัพ” , “ภาษาไทยถิ่นเหนือ” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ภาษาเหนือ” หรือ “ภาษายวน”
- ภาษาลาว เรียกว่า “ภาษายวน” หรือ “ภาษาโยน”
- ภาษาไทลื้อ เรียกว่า “ก่ำโย่น”
- ภาษาไทใหญ่ เรียกกว่า “กว๊ามโย๊น”
- ภาษาอังกฤษ เรียกว่า “Northern Thai”
– สำเนียงคำเมือง
- สำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน)
- สำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน)
- ความแตกต่าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน
*ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สารคดีพันแสงรุ้ง (สารคดีชาติพันธุ์ในประเทศไทย)