Page 3 - เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2566
P. 3
ค านิยม
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นงานที่อาศัยเวลาและความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง
ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชนในการรักษาไว้ซึ่ง
มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและชาติ ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสร้างสรรค์ ในการสร้างคุณค่าและ
มูลค่าให้กับศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อเป็นสนับสนุน เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มี
คุณค่าของท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่นที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาและคุณธรรม เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจและจิตสำนึก ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม
และสิ่งแวดล้อมของชาติ ตลอดจนเชิดชู และสืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่น ด้วยการคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน
ครูภูมิปัญญาฯ ซึ่งเป็นรากแก้วของชุมชนในการรักษาไว้ซึ่งมรดกของท้องถิ่น ได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ จวบจนปัจจุบัน เป็นเวลา ๒๐ กว่าปี ของการสืบสานองค์ความรู้
ุ
ของท้องถิ่นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และจัดทำหนังสือ เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา พทธศักราช
๒๕๖๕ เพื่อเผยแพร่ชีวประวัติและผลงานของเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ที่ได้รับ
การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน ๔ ท่าน และบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่น
ทางวัฒนธรรม จำนวน ๑ ท่าน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ เพชรราชภัฎ – เพชรล้านนา ฉบับนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง
แรงบันดาลใจ และแรงผลักดันให้ทุกส่วนในสังคมร่วมมือกันส่งเสริม สืบสาน และสร้างสรรค์องค์ความรู้ของชุมชน
ตลอดจนเป็นแหล่งความรู้เบื้องต้นในการศึกษา และขยายผลไปสู่การเรียนรู้เพื่อสืบสานองค์ความรู้ของท้องถิ่น
ต่อไป
(รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล)
รักษาราชการแทน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่