id |
132
|
รหัสเอกสาร |
CMRU-CM-06-A-001
|
ชื่อเรื่อง |
มุทิงคเภรี
|
ชื่อรอง 1 |
|
ชื่อรอง 2 |
|
ชื่อรอง 3 |
|
ประเภทเอกสาร |
ใบลาน
|
หมวด |
ธรรมทั่วไป
|
จำนวน |
๑ ผูก (๑๒ หน้าลานๆ ละ ๕ บรรทัด
|
ภาษา |
ล้านนา
|
อักษร |
ล้านนา
|
ผู้สร้าง/ผู้แต่ง |
สามเณรแก้ว
|
ผู้สนับสนุน/ผู้จัดพิมพ์ |
วัดน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
|
ผู้บริจาค |
|
ปี |
~ พ.ศ. 2470 / จ.ศ. 1289 (อายุประมาณ 97 ปี)
|
สภาพ |
สมบูรณ์
|
รูปภาพ |
|
สถานที่จัดเก็บ |
วัดน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
|
ข้อความท้ายเอกสาร |
สระเด็จแล้วยามแตรขึ้นสู่เที่ยง ชะดาบิดเบี่ยงกินทอนข้าแล ฯ จุฬสักกราชได้ 1289 ตัว ปีเมืองเหม้าข้าแล เข้ามาในเดือน 3 ออก 14 ฅ่ำ พร่ำพุธ ไทข้าแล ฯ สามเณรแก้ว เขียนค้ำชูวรพุทธสาสนาวัดน้ำชำ ขอนาบุญค้ำชูพ่อแม่พี่น้องวงสาญาติกาแลอาจารย์ตนสั่งสอนคู่ฅนแล ขอมีปัญญาอันเฉลียวฉลาดอาจจบทังมวล ฯ (เณรแก้วเขียนปางเมื่อปฏิบัตทุเจ้าไชยเสนา ตัวข้าพระเจ้าบ่อพองามเท่าไรแล-อักษรไทย)
|
รายละเอียดโดยย่อ |
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ภิกษุทั้งหลายทูลขอให้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยกลองวิเศษ ดังนี้
ในเมืองพาราณสีนั้นแบ่งพื้นที่เป็น ๑๐๐ ส่วน ทุก ๑๐ ส่วน มีพระราชาปกครองอยู่ ๑ องค์ จึงมีพระราชาทั้งสิ้นจำนวน ๑๐ องค์ จึงเรียกพระราชาเหล่านั้นว่า “ทสราชา” ขณะนั้นในหิมพานต์มีโขลงช้างหากินอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งมีปูยักษ์อาศัยอยู่ หากช้างตัวไหนไปกินหรือเล่นน้ำในสระก็จะถูกปูยักษ์คีบจนตายแล้วกัดกินเป็นอาหารจนทำให้ช้างลดจำนวนลงไปมาก บรรดาช้างที่เหลือจึงต้องคอยดูแลกันและกัน เมื่อมีลูกช้างเกิดมาใหม่ ช้างทั้งหลายจึงคอยดูแลและปกป้องตลอดเวลา ลูกช้างจึงถามแม่ของตนจนทราบเหตุผลที่ช้างทั้งหลายต้องคอยมาดูแลปกป้องตลอดเวลา แต่วันหนึ่งลูกช้างนั้นได้ไปเล่นน้ำในสระจึงถูกปูเอาคีมคีบเท้าไว้ ลูกช้างจึงร้องเสียงดังด้วยความเจ็บปวด บรรดาช้างทั้งหลายและแม่ได้ยินจึงรีบมาดู แม่ช้างเกิดความสงสารและเป็นห่วงลูกจึงอ้อนวอนขอต่อปูยักษ์ว่าอย่าได้ทำร้ายลูกของตนแต่ปูยักษ์ยอม จนในที่สุดลูกช้างได้ใช้เท้า งวง และงาของตนต่อสู้กับปูยักษ์จนหลุดรอดมาได้ โดยตัวปูยักษ์ก็แหลกเหลวไปเหลือแต่คีม ๒ ข้าง โดยข้างหนึ่งพระอินทร์ได้ลงมาดูแล้วนำไปไว้บนสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งคีมอีกข้างหนึ่งไว้ ต่อมาเมื่อถึงฤดูน้ำหลากมาก็ได้พับคีมปูยักษ์นั้นไหลตามน้ำมาจนถึงเมืองพาราณสี เมื่อชาวเมืองไปพบเข้าจึงไปแจ้งกับพระญาทสราชาๆ จึงให้คนทั้งหลายนำมาสร้างเป็นกลองมงคลประจำเมือง เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงลองตีกลองดังกล่าว ซึ่งเสียงกลองนั้นดังกึกก้องกังวานไปไกลถึง ๑๒ โยชน์ ชาวเมืองทั้งหลายจึงจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อตีกลองมงคลนั้นคราใดก็จะมีผู้คนหลั่งไหลมาประสุมชุมนุมกันอย่างมากมาย ต่อมาชาวเมืองได้เปลี่ยนสลักไม้ที่ยึดหนังกับคีมปูเป็นสลักเงินและทองคำ ครั้นเมื่อเสร็จแล้วลองตีดูก็พบว่าเสียงกลองไม่ได้ก้องกังวานไพเราะเสนาะหูเหมือนเดิมแต่อย่างใด
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่ากลองมงคลที่ทสราชาได้สร้างไว้แต่เดิมที ต่อมาเมื่อเปลี่ยนจากสลักไม้เป็นเป็นสลักเงินและทองคำ รวมทั้งประดับตกแต่งกลองมงคลคีมปูใหม่ ทำให้เสียงกลองนั้นไม่ก้องกังวานเหมือนเดิม เปรียบเหมือนพระธรรมวินัยที่ทรงแสดงไว้แล้วเป็นมงคลและถูกต้องดีงามแล้ว เป็นสิ่งที่ทำให้คนทั้งหลายมาประสุมชุมนุมกันเพื่อรับฟังและนำไปปฏิบัติให้ตนเองพ้นจากทุกข์ แต่ภิกษุสามเณรบางกลุ่มนำไปดัดแปลงตกแต่งใหม่ ทำให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
หลังการพระธรรมเทศนาในครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปก็ได้บรรลุธรรมขั้นต่างๆ ทั้งเป็นพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี และโสดาบัน ตามบุญสมพารของแต่ละรูปที่ได้บำเพียรมา ฯ
|
ผู้บันทึก |
นายดิเรก อินจันทร์
|
ประเทศ |
ไทย
|
ภูมิภาค |
|
จังหวัด |
|
อำเภอ |
|
ตำบล |
|
latitude |
|
longitude |
|
timestamp |
|