Page 30 - หนังสือรวมบทความ 2566
P. 30

๒๔
         24






                       การอภิปรายผล
                                จากการศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค บ้านไร่กองขิง

                       ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

                                หมอวิไลวัลย์ ธรรมศร และคุณรุ้งลาวัลย์ ช่างเหล็ก ได้รับความรู้มาจากบรรพบุรุษที่มี
                       การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2555 จวบจนปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 10-11 ปี

                       โดยมีเหตุจูงใจสำคัญที่ทำให้มาทำการรักษา เกิดจากการได้รับการชักชวนจากผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยเหลือ

                       ชาวบ้านได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นนำความรู้ที่มีมาต่อยอดสร้างอาชีพและใช้ประโยชน์
                                                                               ื
                       ด้วยการเป็นหมอพื้นบ้าน สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับหมอพ้นบ้านของ สุพัตรา สันทนานุการ
                       และ สุวิไล วงศ์ธีระสุต (2546) กล่าวว่า หมอพื้นบ้าน หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ในการบำบัดรักษาโรค

                       ที่มีในชุมชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา และได้ค้นคว้าทดลองด้วยประสบการณ์ ซึ่งสอดคล้อง
                       กับผลการศึกษาของ เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์ (2559) จากการศึกษาเรื่อง การศึกษาพืชสมุนไพร

                       ท้องถิ่นและภูมิปัญญาด้านการใช้สมุนไพร ที่กล่าวว่า หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มีแรงจูงใจและได้รับ
                       การถ่ายทอดองค์ความรู้มาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตา ทวด มีความสนใจและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดยวิธ ี

                       ฝึกสังเกต และเน้นการปฏิบัติจนถอดแบบจากต้นแบบการรักษาจากบรรพบุรุษ และยังสอดคล้องกับ

                       ผลการศึกษาของ ภัทรธิรา ผลงาม (2561) จากการศึกษาเรื่อง กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา
                       หมอพื้นบ้านในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาสุขภาพในชุมชนจังหวัดเลย ที่กล่าวว่า วิธีการถ่ายทอด

                       ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านด้วยการใช้สมุนไพร โดยระบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน
                       มีการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในระดับเครือญาติ และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ณัฏฐ์ฐภรณ์

                       ปัญจขันธ์ และ ยงยุทธ แก้วเต็ม (2551) จากการศึกษาเรื่อง กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาและ

                       การเยียวยาเพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนของแพทย์พื้นบ้าน จังหวัดลำปาง ที่กล่าวว่า
                       กระบวนการถ่ายทอดโดยอาศัยผู้เรียนซึ่งต้องอาศัยความเชื่อ ความศรัทธา ความสนใจ และการตั้งใจ

                       เรียน และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ พิมพ์ชนก วรรณแจ่ม (2560) จากการศึกษาเรื่อง รูปแบบ

                       การดูแลรักษาสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์พื้นบ้าน ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัด
                       ฉะเชิงเทรา ที่กล่าวว่า แบบแผนการปฏิบัติตนขึ้นอยู่กับแหล่งความรู้หรือผู้ที่ได้ถ่ายทอดความรู้วิธีการ

                       รักษามีลักษณะผสมผสาน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เรียบง่าย และใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเป็นหลัก
                                สำหรับกระบวนการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในการรักษาโรคในยุคปัจจุบัน หมอวิไลวัลย์

                       ได้เล็งเห็นว่าตลอดการรักษาที่ผ่านมา การใช้ภูมิปัญญาในการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านจะต่างกัน

                       ตามองค์ความรู้ที่มี วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ล้วนมาจากธรรมชาติโดยส่วนใหญ่ และหลีกเลี่ยง
                       วัสดุอุปกรณ์ที่ปรุงแต่งจากสารเคมีให้น้อยที่สุด รวมถึงการบริการที่เปรียบเสมือนครอบครัว เพื่อให้

                       ผู้เข้ารับการรักษาประทับใจและสร้างการไว้วางใจ เพื่อให้องค์ความรู้การใช้สมุนไพรในการรักษานี้
                       ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสมุนไพรและการใช้สมุนไพรในการรักษา
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35