Page 31 - หนังสือรวมบทความ 2566
P. 31

๒๕
                                                                                                              25






                       โรคของ สุภาภรณ์ ปิติพร (2551 อ้างถึงใน เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์, 2559) การนำสมุนไพรมาใช้
                       อาจมีการดัดแปลง รูป ลักษณะ ของสมุนไพรเพื่อให้ใช้ได้สะดวกขึ้น และส่วนของพืชสมุนไพร

                       หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยาสามารถใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ ซึ่งสอดคล้องกับ
                       ผลการศึกษาของ ทิพพา ลุนเผ่ (2562) จากการศึกษาเรื่อง รูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอพื้นบ้าน

                       ด้านสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม ที่กล่าวว่า กระบวนการภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพร

                       จังหวัดมหาสารคามขึ้นอยู่กับสภาพภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม
                       ซึ่งสืบทอดกันมา ด้วยการนำสมุนไพรซึ่งมีลักษณะหลายชนิดกันมาใช้เป็นยาโดยผ่านกระบวนการ

                       เตรียมยา การปรุงยา และการรักษารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพรจังหวัด
                       มหาสารคามขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสภาพภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม

                       ซึ่งสืบทอดมาและประสบการณ์การรักษาความเจ็บป่วยให้แก่ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นและชุมชน

                       ใกล้เคียงด้วยรูปแบบยาฝน ยาต้ม ยาลูกกลอน และยาทาพร้อมกับคาถา และยังสอดคล้องกับ
                       ผลการศึกษาของ พรทิพย์ แก้วชิณ และ นฤทธิ์ พลสูงเนิน (2558) จากการศึกษาเรื่อง การศึกษา

                       ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ที่กล่าวว่า การได้ให้บริการ

                       ทางด้านการแพทย์พื้นบ้านแก่คนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง โดยไม่เรียกค่าตอบแทนหรือแล้วแต่
                       ผู้ป่วยจะให้ แพทย์พื้นบ้านส่วนใหญ่มีแนวคิดในการดูแลสุขภาพโดยเริ่มต้นจากการนำความรู้

                       ด้านการแพทย์พื้นบ้านและการใช้สมุนไพรมาใช้ในการดูแลตนเองและนำภูมิปัญญาไปใช้ในการทำ
                       ผลิตภัณฑ์เพื่อแจกจ่าย จำหน่ายแก่ผู้ที่สนใจ และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ นวพรรษ ผลดี

                       และ วรชาติ โตแก้ว (2560) จากการศึกษาเรื่องภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

                       ในชุมชนพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านในพื้นที่มีการใช้
                       ประโยชน์อาหารเพียง 13 ชนิด เนื่องจากชาวบ้านจะเลือกพืชอาหารที่ให้ผลผลิตที่เพียงพอต่อ

                       ความต้องการ และพืชผักหลายชนิดสามารถหาซื้อได้ง่าย ซึ่งสะดวกกว่าการเก็บจากป่า นอกจากนี้
                       ยังสามารถนำพืชในป่าชุมชนมาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้านได้แก่ ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค

                       ทำสีย้อม ทำอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ และการใช้เป็นเชื้อเพลิง


                       ข้อเสนอแนะ

                                ข้อเสนอแนะในการน าไปใช้ประโยชน์

                                1. เทศบาลตำบลหนองควายควรสนับสนุน และจัดสรรงบประมาณให้กับการนำสมุนไพร
                       มาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรของชุมชนบ้านไร่กองขิง

                                2. ชุมชนควรปลูกฝังการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรให้แก่คนรุ่นหลัง

                       ให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36