Page 22 - หนังสือรวมบทความ 2566
P. 22
๑๖
16
บทน า
ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านสุขภาพที่อยู่บนพื้นฐานทาง
วัฒนธรรมและอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างยาวนาน ระบบการแพทย์พื้นบ้านประกอบด้วย
องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ หมอพื้นบ้าน ผู้ป่วย และบริบททางสังคม วัฒนธรรม จึงมีความเกี่ยวข้อง
กับความเชื่อ พิธีกรรม วัฒนธรรม ประเพณี และทรัพยากร ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น
และมีการรักษาสุขภาพตามความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมของตน (กระทรวงสาธารณสุขนนทบุรี, 2552
อ้างถึงใน ไสว หวานเสร็จ และ ดารณี อ่อนชมจันทร์, 2561)
“หมอพื้นบ้าน” เป็นบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพ
ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามวัฒนธรรมของชุมชนสืบทอดกันมานาน
เป็นที่นิยมยกย่องจากชุมชน โดยมีประชาชนในหมู่บ้านรับรองไม่น้อยกว่าสิบคนหรือเป็นผู้ที่ได้
การรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหมอพื้นบ้านสามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้
ตามข้อยกเว้นในมาตรา 30 (2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 คือ
สามารถให้ “การช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยตามจรรยาโดยมิได้รับผลประโยชน์ตอบแทน”
แต่ขอบเขตดังกล่าวย่อมทำให้หมอพื้นบ้านไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยแต่การประกอบอาชีพ
เป็นพื้นบ้านเท่านั้น ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของหมอยาพื้นบ้าน คือ จะจัดการความรู้ของบุคคล
กลุ่มนี้ได้อย่างไร และในแง่ของการดึงความรู้ที่เป็นความรู้แฝงของหมอพื้นบ้านแต่ละคนออกมา
เพื่อให้สังคมได้ประโยชน์ยิ่งขึ้นจากความจริงที่ปราชญ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงระดับชาติ อาจารย์ล้อม
เพ็งแก้ว ได้สั่งสมความรู้นอกจากสถาบันการศึกษา และตำราแล้ว ยังใช้วิธี “อาศัยสองเท้าย่ำไปทุกวัด
ทุกหมู่บ้านเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นด้วยการพูดคุยหาความรู้กับคนทุกอาชีพทุกวัย” ได้ข้อสรุปว่า
“อยากได้ปริญญาให้มุ่งไปมหาวิทยาลัย อยากได้ความรู้ให้มุ่งสู่ชาวบ้าน” (วิชัย โชควิวัฒน์, 2551
อ้างถึงใน ทิพย์วารี สงนอก และ นนทิยา จันทร์เนตร์, 2561)
การแพทย์พื้นบ้านหรือแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาที่ใช้ดูแลสุขภาพและรักษาโรคภัยของ
คนไทยมาช้านาน ซึ่งมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นผสมผสานกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น
การแพทย์แผนไทยประกอบด้วยองค์ความรู้และภูมิปัญญาหลายด้าน ทั้งการนวด อบ และประคบ
ซึ่งภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคก็เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ละภูมิภาคก็มีลักษณะทางภูมิประเทศที่แตกต่างกัน พืชสมุนไพรจึงมีความแตกต่างและ
หลากหลายกไปตามพื้นที่ ดังนั้น พืชสมุนไพรไทยจึงมีบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาโรค
มาแต่ครั้งโบราณ การใช้สมุนไพรจึงมีวิวัฒนาการและพัฒนาการองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ สมุนไพรไทยจึงไม่ได้ใช้เพียงเพื่อรักษาความเจ็บป่วยเท่านั้นแต่มีคุณค่าต่อสุขภาพ
ทั้งร่างกายและจิตใจ แม้ว่าประเทศไทยได้มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วย
มาเป็นเวลานานแล้ว แต่เมื่อมีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาใช้เมื่อร้อยปีที่ผ่านมาแล้ว