Page 23 - หนังสือรวมบทความ 2566
P. 23

๑๗
                                                                                                              17






                       ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรของไทยก็ได้ถูกละเลยและถูกครอบงำโดยการรักษาแบบแพทย์แผนใหม่
                       จนทำให้การใช้ยาสมุนไพรไม่เป็นที่นิยม ซึ่งทำให้ความรู้ในเรื่องพืชสมุนไพรไทยไม่ได้รับการพัฒนา

                       อย่างต่อเนื่องและการสืบทอดต่อไป (สมภพ ประธานธุรารักษ์ และคณะ, 2548 อ้างถึงใน สุพัฒน์
                       ศรีสวัสดิ์ และคณะ, 2556)

                              ชุมชนบ้านไร่กองขิง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ

                       พอเพียง สร้างชุมชนเข้มแข็งและพงตนเอง จึงกลายเป็นหมู่บ้านที่รู้จักกันดีในแง่ของการรักษาสุขภาพ
                                                   ึ่
                                                            ิ
                       ทั้งกายและใจด้วยสมุนไพร มีความเป็นอยู่ที่องกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เรียบง่ายและใช้ภูมิปัญญา
                       ท้องถิ่นต่อยอดจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นจากความพยายาม
                       ในการฟื้นฟูชุมชนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาพที่มีอยู่และใช้ในชุมชนของตนเองมา

                       อย่างยาวนาน และการพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่าชุมชนนี้เป็นแหล่งความรู้เรื่องสุขภาพอันดีอย่างแท้จริง

                       ศูนย์บริการสุขภาพบ้านไร่กองขิงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการคำปรึกษาและการบำบัดรักษาเชิงลึก
                       ในระยะยาวด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณภาพในชุมชนบ้านไร่กองขิงแห่งนี้ นำวัสดุจากธรรมชาติ

                       กลับมาใช้ใหม่ อีกทั้งชาวบ้านมีการรณรงค์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันคัดแยกขยะในชุมชน

                       เพื่อร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี นอกจากนี้ ยังมีการผลิต
                       สินค้าที่ล้วนมาจากวัสดุธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสุขภาพ และอาหารปลอดสารเคมี

                       เพื่อสุขภาพ เพื่อหาวิธีการที่จะเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างความแตกต่าง
                       จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และรักสุขภาพให้กับนักท่องเที่ยวไปสู่ทางเลือกใหม่แห่งการท่องเที่ยว

                       ที่เกิดขึ้นตามแบบวิถีท้องถิ่น ดังนั้น การท่องเที่ยวของชุมชนบ้านไร่กองขิงจึงได้รับการยกระดับให้เป็น

                       “หมู่บ้านแห่งสุขภาพ” ซึ่งเกิดจากการนำต้นทุนทางวิถีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์และทรัพยากร
                       ที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้มาท่องเที่ยวสัมผัสและ

                       เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เยาวชนได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
                       ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป (กระทรวงการท่องเที่ยวและองค์การ

                       บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, 2562)

                               ดังนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาบำบัดรักษาโรค
                       ของหมอยาพื้นบ้านที่มีบทบาทสำคัญมากโดยเฉพาะโรคที่แพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่หาย

                       แต่หมอพื้นบ้านรักษาหาย จึงเกิดคำถามในการวิจัยว่า องค์ความรู้ด้านการรักษาโรคของหมอพื้นบ้าน

                       ยังคงเหลือมากน้อยเพียงใด สมุนไพรมีสรรพคุณหรือขอบเขตของการรักษาโรคต่าง ๆ มากน้อย
                       เพียงใด หมอยาแต่ละท่านมีการสืบสานองค์ความรู้ดังกล่าวให้กับคนในท้องถิ่นหรือไม่ เมื่อรวบรวม

                       องค์ความรู้ดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงเป็นขั้นตอนหรือกระบวนการของการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

                                             ้
                       ในยุคปัจจุบัน และเผยแพร่ขอมลดงกล่าวสู่สาธารณชนสืบไป
                                                  ั
                                               ู
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28