Page 54 - หนังสือรวมบทความ 2566
P. 54

๔๘
         47                                                                                                   47


               วิธีด าเนินการวิจัย

                       รูปแบบและประเภทของการวิจัย

                        การศึกษาในครั้งนี้ก าหนดใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บ

               รวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และน าแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์

               ข้อมูลที่ได้กับการศึกษา เรื่อง รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนวิถีใหม่หลังยุคโควิด-19 กรณีศึกษาบ้านสบวิน

               ต าบลแม่วิน อ าเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

                        ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                        ประชากรที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนบ้านสบวิน ต าบลแม่วิน อ าเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

               จ านวน 571 คน จ านวนครัวเรือน 239 ครัวเรือน (กศน. ต าบลแม่วิน, 2564)

                        กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้น าชุมชน และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

               ในชุมชนบ้านสบวิน ต าบลแม่วิน อาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

               (Purposive sampling) ประกอบด้วยผู้ประกอบการท่องเที่ยว จ านวน 5 คน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

               ท่องเที่ยว จ านวน 5 คน


                        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                        เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ โดยได้แบ่งเป็นออกเป็น 3 ตอน

               ดังต่อไปนี้

                        ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์

                        ผู้ให้สัมภาษณ์ตัวแทนผู้ประกอบการท่องเที่ยว มีดังนี้ นายกิตติโชติ จันทะแพ (ผู้ใหญ่บ้าน)

               อายุ 58 ปี อาชีพผู้ประกอบการโฮมสเตย์ นายเซน หิรัญนโคทร อายุ 30 ปี อาชีพมัคคุเทศก์ นางผ่องพรรณ

               มูลเขียว อายุ 55 ปี อาชีพค้าขาย นางอรชร ปันทา อายุ 56 ปี อาชีพค้าขาย นางบัวเขียว (ไม่ประสงค์

               บอกนามสกุล) อายุ 48 ปี อาชีพค้าขาย

                        ผู้ให้สัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจการท่องเที่ยว ได้แก่ นายนิคม ออนเขียว (ประธานกลุ่ม)

               อายุ 58 ปี อาชีพค้าขาย นายกิตติ ณ เชียงใหม่ อายุ 68 ปี อาชีพขับรถรับจ้างรับส่งนักท่องเที่ยว พระอธิการ

               กิตติศักดิ์ สุธีโร (เจ้าอาวาสวัดสบวิน) ซึ่งเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือกลุ่มวิสาหกิจการท่องเที่ยว อายุ 50 ปี

               นางโสภา ใจพรม อายุ 58 ปี อาชีพค้าขาย นางจรรยา ออนเขียว อายุ 61 ปี อาชีพค้าขาย

                        ตอนที่ 2 ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวชุมชนวิถีใหม่หลังสถานการณ์โควิด-19 ประกอบด้วยข้อมูล

               จากแบบส ารวจศักยภาพชุมชน องค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการวิเคราะห์ SWOT Analysis


               เกี่ยวกับศักยภาพชุมชนที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนวิถีใหม่
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59