Page 64 - หนังสือรวมบทความ 2566
P. 64

๕๘
         57





                     บทน า
                                          ื้
                            ภูมิปัญญาเป็นพนความรู้ของประชาชนในสังคมที่เป็นที่รับรู้และเข้าใจร่วมกัน ซึ่งมีชื่อเรียก

                     ที่แตกต่างกัน อาทิ ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชุมชน แต่โดยรวมแล้วภูมิปัญญา
                     เป็นสิ่งที่ สั่งสมมาจากความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ผนวกกับความเฉียบคมในการหยั่งรู้


                                                   ื่
                     อย่างลุ่มลึกบนฐานของความรู้ เพอปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ทรัพยากร และองค์ความรู้ที่มีอยู่
                     ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทและความเปลี่ยนแปลง ถือว่า “ภูมิปัญญา” เป็นทุนทางวัฒนธรรม

                     ที่ความส าคัญยิ่งของมนุษย์ (ชวน  เพชรแก้ว, 2547) มีคุณค่าและน าไปสู่การสร้างมูลค่าด้วยการใช้


                     ภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนาสังคม
                            การที่ภูมิปัญญาเป็นบริบทที่ส าคัญบริบทหนึ่งของวัฒนธรรมที่แสดงและบ่งชี้ถึงความมี

                     อารยธรรมและความยั่งยืนมาอย่างยาวนานของชนชาติ เพราะภูมิปัญญาสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถ

                     ในการแก้ไขปัญหาของสมาชิกในชุมชนหรือสังคมหนึ่ง ๆ เพอให้เกิดการด ารงชีวิตอย่างสันติสุข ส าหรับ
                                                                      ื่
                                                                                             ุ
                                                                         ื้
                     ภูมิปัญญาไทยนั้นได้รับการถ่ายทอดและสั่งสมมาจากหลายพนที่ (ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อปถัมภ์, 2558)
                     จึงท าให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพนธุ์ที่แม้แต่ในชุมชน
                                                                                        ั
                     เดียวกันยังมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่

                            ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ ความสามารถของชุมชนที่สั่งสมสืบทอดกันมานาน

                     เป็นความจริงแท้ของชุมชน เป็นศักยภาพที่ใช้ในการจัดการและแก้ปัญหา ปรับเปลี่ยน และเรียนรู้

                     รวมถึงการถ่ายทอดสู่เยาวชน เพอให้สามารถด ารงชีวิตได้อย่างมีความสุข ตลอดจนเป็นแก่นของชุมชน
                                                ื่
                     ในการจรรโลงความเป็นชาติให้รอดปลอดภัยจากภัยพบัติต่าง ๆ เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                                                        ิ
                     เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ผนวกกับความเฉียงคมในการหยั่งรู้

                                      ั
                     อย่างลุ่มลึกในการพฒนาปรับเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีด้วยการเพมพนคุณค่าและมูลค่า
                                                                                          ู
                                                                                       ิ่
                     ที่สอดคล้องอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและบริบทต่าง ๆ ของสังคม (ศักดิ์ชัย เกียรตินาคิน, 2542)
                     จะเห็นได้ว่า การที่มนุษย์จะอยู่รอดได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการพฒนาและ
                                                                                                 ั
                                                                      ั
                     ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพฒนาและการปรับตัวจะต้องอยู่บนฐานมิติ
                     ทางวัฒนธรรมและพนที่ การติดต่อสัมพนธ์ การเลือกรับ การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนะรรม และ
                                      ื้
                                                      ั
                     น ามาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ ดังค ากล่าวที่ว่า “ภูมิปัญญา

                     เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์” (หทัยรัตน์  ทับพร, 2556) ท าให้เข้าใจและรู้เท่าทันการณ์เปลี่ยนแปลง

                     ด้วยวิธีการคิด วิเคราะห์ และเลือกรับสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง รวมถึงการต่อจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็น

                     มรดกของชุมชน
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69