Page 61 - เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2566
P. 61
๕๕
เมื่อครั้งยังเยาว์วัย นายศรัณ สุวรรณโชติ ได้เห็นศิลปวัฒนธรรมวิถีดั้งเดิมที่สืบสานและสืบทอดมาอย่าง
้
ต่อเนื่องในหมู่บ้าน ยามมีงานบุญ ทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ชายก็ออกมาฟอนเจิง จึงเกิดความชื่นชอบมาตั้งแต่นั้นมา
ิ
้
แต่ใครจะรู้ว่าเด็กชายตัวเล็ก ๆ แถมป่วยอด ๆ ออด ๆ จนได้ฉายาว่า “ไอขี้เปี๊ยก” จะกลายเป็นครูผู้สืบทอดศิลปะ
การต่อสู้ล้านนา “เจิง” ที่มีน้อยคนนักในจังหวัดเชียงใหม่ นายศรัณ เริ่มตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยเรียนมวยไทยกับคุณตาส าราญ จันทร์จง ซึ่งเคยเป็นนักมวย จากนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์วิชามวยไทยกับ
ร.ต.ท.ศุภนัย ศรีสุธรรมศักดิ์ แห่งค่ายเชียงใหม่พาหุยุทธ อ าเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในเวลาเดียวกันได้เริ่มสนใจ
วิชาเจิง ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา จนเมื่ออายุ ๑๕ ปี นายศรัณได้ไปหาครูสนั่น ธรรมธิ และ
่
ได้รับค าแนะน าให้ไปเรียนกับพอครูค า พรหมวงศ์ (ครูเจิงคนแรกของครูนิก) แห่งบ้านท่าหลุก ต าบลสันผีเสี้อ
อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีวิชาเด่น คือ เจิงขุม ๑๒ กับการตบมะผาบสายที่ต่อเนื่อง ว่องไว และท่าเสือ
ลากหาง สาวลาย เป็นต้น โดยไปฝากตัวเป็นศิษย์ ขึ้นขันตั้งครู และครูสอนได้ ๓ วัน บอกว่าสอนจบแล้ว ไม่มีอะไร
จะสอนแล้วให้เอาวิชาที่สอนไปฝึกหัดให้เชี่ยวชาญ ซึ่งนายศรัณกลับบ้านด้วยความสงสัย แต่ไม่ลืมค าสอนของ
พอครูค า จึงกลับมาฝึกฝนด้วยตนเองทุกวัน ด้วยความเพยรชนิดที่ว่า ตบมะผาบจนขาบวม มือบวม จากนั้น
่
ี
นายศรัณ ได้ตระเวนแสดงฟอนเจิง เพอเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์ผ่านการแสดงตามคุ้มขันโตก
ื่
้
ื่
ในเวียงเชียงใหม่ ตลอดจนการรับงานแสดงศิลปะวัฒนธรรมเพอส่งตัวเองเรียน จนวันหนึ่งผลงานของนายศรัณ
ได้ไปเข้าตาและถูกใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ล้านนา จึงได้ชวน
นายศรัณ ไปเที่ยวงานนิทรรศการศิลปกรรม ในช่วงเปิดงานได้มีแสดงฟอนเจิงจากคนเก่งมากหน้าหลายตา
้
ช่วงท้ายมีการเปิดข่วงเจิงประลองฝีมือ หนึ่งในนั้นที่นายศรัณประทับใจ คือ อายแสบ (ธนชัย มณีวรรณ) ซึ่งมีอายุ
้
มากกว่านายศรัณหนึ่งปี แต่อายแสบเก่งมาก เจิงมือลีลาออนช้อยคล่องแคล่ว ท าให้นายศรัณถึงกับตาค้าง
้
่
ด้วยแต่ละท่าสุดยอดทั้งนั้น บางท่าเคยเห็นแต่ไม่รู้ว่าต้องฟอนยังไง ด้วยบรรยากาศและเสียงดนตรีก๋องซิ่งม่อง
้
(กลอง) ฆ้องรบเร้าตามจังหวะปลุกความฮกเหิม พร้อมเสียงเชียร์จากอาจารย์วิลักษณ์ จึงท าให้ นายศรัณตัดสินใจ
ึ
ก้มตัวม้วนขากางเกง ก้าวเข้าสู่สนามการประลองเจิง ซึ่งนายศรัณบอกว่า “ตอนนั้นเราถือเป็นหน้าใหม่ในวงการ
คนก็มองว่า เอ็งเป็นใครมาจากไหน ท่าทางลวดลายเจิงก็ยังไม่งดงาม ฟ้อนทีก็เก ๆ กัง ๆ แต่จุดเด่น คือ ตบมะผาบ
้
ตบทีดังลั่นเลย” ด้วยความเก้ๆ กังๆ ปนเสียงตบมะผาบดังลั่น ได้ไปสะดุดตาอายแสบ และได้ถามนายศรัณว่า
้
“อยากเรียนไหม ถ้าอยากเรียนจะสอนให้” นายศรัณถึงกับน้ าตาคลอเบ้า “ตอนนั้นดีใจมาก น้ าตาคลอเบ้าเลย
เพราะจะได้รู้ว่า เจิงจริง ๆ เป็นยังไง และได้มีโอกาสเข้าไปคลุกคลีวงในมากขน ได้ไปช่วยงานครูแสบ ครูต้อม ครูโอ
ึ้
(พรชัย ตุ้ยดง) ระหว่างนั้นเหมือนจะถูกแกล้งตลอด เป็นเสมือนการทดสอบจิตใจ แต่ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นในสิ่งที่เรียน
เลยไม่คิดอะไร ผ่านไปหกเดือน อายแสบบอกว่า “ได้เวลาแล้ว” และพาไปขึ้นขันตั้งกับพอครูหล้า - ค าสุข
้
่
ช่างสาร (ครูของอายแสบ) แห่งบ้านสันต้นดู่ อ าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้สืบสายวิชาเจิงจากพอครู
้
่
น้อยปวน ค ามาแดง แห่งบ้านร้องวัวแดง อาเภอสันก าแพง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นครูเจิงที่มีชื่อเสียงมาก
ท่านหนึ่ง โดยวิชาที่โดดเด่น คือ เจิงขุม ๔, ๕, ๑๒, ๑๖, ๑๗ เจิงตบมะผาบไฟไหม้ป่าแขม เจิงดาบ เจิงไม้ค้อน