Page 156 - เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2566
P. 156
๑๕๐
สิ่งหนึ่งไปจะสูญเสียสมดุลและถูกแทนที่หรือถูกท าลายจากภายนอกทันที มันเป็นกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ
หากไม่เท่าทันหรือปล่อยปะละเลยก็เสมือนว่ายินยอมต่อการล่มสลายที่ก าลังมาเยือนระลอกแล้วระลอกเล่า
หลักการ "บันได ๓ ขั้น" ว่าด้วยเรื่องการก้าวสู่วิถีเจิงอย่างเข้มข้น หมายถึงการตั้งเป้าที่จะศึกษาและฝึกฝนด้านนี้
อย่างจริงจัง เมื่อมีความศรัทธาในสายวิชาอย่างแน่วแน่ ผู้เรียนย่อมรู้ว่าตนปรารถนาก้าวย่างในวิถีของสายวิชาใด
ซึ่งแต่ละสายมีหนทางของตนเอง ส่วนนี้คงเป็นมนต์เสน่ห์ที่คอยดึงดูดและค้นหากันและกันเสมือนเป็นสัญญาเก่า
แต่หลักที่จะได้มาซึ่งวิชาอันลึกซึ้งนั้นควรพิจารณาในการปฏิบัติฝึกฝนเป็นบันได ๓ ขั้น ดังนี้
"ขั้นที่ ๑ องค์ความรู้" ได้แก่ พนฐานทางความรู้ภูมิปัญญาที่ดี ตรวจสอบและพสูจน์ได้เสมอ ในส่วนนี้
ิ
ื้
แต่ละสายมักคัดกรองวิชาของตนเป็นหัวกะทิไว้อย่างดี ผู้เรียนมีหน้าที่ศึกษาตามหลักวิชาของแต่ละสาย
ี
"ขั้นที่ ๒ ศักยภาพ" เมื่อได้รับความรู้สิ่งใดมาแล้วให้หมั่นเพยรฝึกฝนจนทะลุปรุโปร่ง ส่วนนี้หมายรวมถึง
การฝึกฝนสมรรถนะและศักยภาพด้านร่างกาย จิตใจ ที่ต้องมีความแข็งแกร่งทนทานเพอท าสิ่งยากให้บรรลุ
ื่
ส่วนใหญ่อยู่ในแม่แบบการฝึกของแต่ละสายที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้นั้น ๆ
"ขั้นที่ ๓ ประสบการณ์" การฝึกแบบภายในส านักหรือฝึกเองเป็นขั้นตอนหนึ่งเพอเตรียมความพร้อม
ื่
ื่
ร่างกายจิตใจ เมื่อช านาญบ้างแล้วต้องหาประสบการณ์ภายนอกเพอก่อเกิดไหวพริบปฏิภาณที่เป็นเลิศยิ่งขึ้นไป
มีความแตกต่างจากการฝึกกันเองอย่างมากเพราะสภาวะจิตใจและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างมีสิ่งเร้าใหม่ๆ เกิดขนเสมอ
ึ้
ถ้าท าในแต่ละขั้นอย่างสม่ าเสมอ จะก้าวย่างในวิถีนี้ได้อย่างไม่หวั่นไหว อานุภาพของการฝึกเช่นนี้จะคุ้มตัวท่าน
ตลอดไป
้
่
หลักการ "ปิดจุดออน ซ่อนจุดแข็ง" การฟอนเจิงเป็นการจัดระเบียบแบบแผนของการเคลื่อนไหวร่างกาย
ื่
ในระดับสูง มีความซับซ้อนในการเชื่อมโยงจุดสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกายเพอสร้างความสมดุลที่สมบูรณ์แบบ
ในการฝึกเราจะพบจุดออนข้อบกพร่องมากมายในตัวเราที่ท าให้ระบบวงจรไม่เชื่อมโยงไม่สมดุลและไม่สมบูรณ์
่
มันมีส่วนท าให้เราอดอดขัดข้องใจหรือท้อใจ มันเป็นสิ่งที่ยากในการข้ามผ่านจุดของการยอมรับและปรับปรุง
ั
ึ
คนส่วนมากเลือกที่จะทิ้งข้อบกพร่องของตนเองแล้วมุ่งไปที่แบบฝึกที่ตัวเองชอบหรือถนัด ซึ่งมันจะถึงทางตัน
ั
ในที่สุด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้ใครสักคนที่เริ่มต้นฝึกเจิงด้วยใจรักกลับหยุดในการพฒนาตนเองให้ไปถึง
ที่ใจปรารถนา นั่นเพราะไปต่อไม่ได้เมื่อวิชาถึงทางตันจึงเกิดเบื่อหน่ายและละทิ้งการฝึกตนในที่สุด ดังนั้น
ั
จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะคอยจี้จุดที่บกพร่องเพอการแก้ไขที่ถูกวิธี เมื่อจุดออนถูกแก้ไขหรือถูกปิดแล้วจึงพฒนา
ื่
่
จุดแข็งของแต่ละคนให้เยี่ยมยอดขึ้นไป แม้กระนั้นหลักการของเจิงจะซ่อนจุดแข็งเอาไว้เพอให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ื่
ในการใช้งานจริง ท าให้การฟ้อนเจิงที่เราท่านเห็นก็สะท้อนแนวคิดและแสดงท่าทีลีลาอย่างที่กล่าวมา ดูสุขุม รัดกุม
ผ่อนคลาย ท้าทาย ยั่วยุ ปิดเหมือนเปิด เปิดล่อพร้อมแก้ทาง เป็นต้น ในมุมมองชีวิต ก็ยากที่ใครจะเข้าใจหรือเข้าถึง