Page 48 - หนังสือรวมบทความ 2565
P. 48

42


               บทน า

                       ผู้ชายล้านนาโบราณส่วนใหญ่นิยมสักตารางยันต์ลงคาถาในส่วนบนของร่างกาย ซึ่งจะเป็นการสักสีด า
                                                                                          ื่
               ส่วนสีแดง จะสักเป็นจุดตามศีรษะ ขมับ ริมฝีปากหรือในลิ้น โดยมีจุดมุ่งหมายของการสักเพอให้ผู้ที่พบเห็นเกิด
               ความสนใจและชื่นชอบ

                       ค าว่า “สักยันต์” มีที่มาจากค า 2 ค า คือ “สัก” หมายถึง การน าเหล็กแหลมจุ่มลงในน้ าหมึกหรือ
                                                      ื่
               น้ ามัน จากนั้นน ามาทิ่มแทงลงไปที่ผิวหนังเพอให้เกิดอกขระ และลวดลาย หากใช้หมึกจะเรียกว่า สักหมึก
                                                              ั
               หากใช้น้ ามันจะเรียกว่า สักน้ ามัน และค าว่า “ยันต์” หมายถึง รูปอกขระ และลวดลายต่าง ๆ การสักยันต์
                                                                         ั
               จะมีเรื่องราวที่ถูกบันทึกผ่านการสัก โดยสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และพบเห็นอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะมี
               ความแตกต่างกันไปตามความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณนั้นการสักมีเหตุมาจาก

               ความเชื่อและความศรัทธาเลื่อมใส เพอเป็นขวัญก าลังใจและเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าต่าง ๆ (นิวัตน์ ประจักษ์,
                                               ื่
               2561)
                       “การสักขาลาย” หากสักยาวตั้งแต่ช่วงหน้าท้อง เอว หรือก้น เลยเข่าลงไป ในล้านนานั้นจะพบได้ใน

               กลุ่มชาติพนธุ์ไทใหญ่ ไทลื้อ กะเหรี่ยง และพม่า แต่หากเป็นเอกลักษณ์ล้านนาโดยเฉพาะ คือ การสักแบบ
                        ั
               “เตี่ยวก้อม” หรือการ‘สักขาก้อม’ จะเป็นการสักตั้งแต่ช่วงเอว หรือหน้าท้อง จนถึงกลางขา เหมือนใส่กางเกง

               ขาสั้น ซึ่งหากมองจากระยะไกลจะเสมือนใส่กางเกงสีด าที่มีลวดลายดอกไม้หรือตารางสี่เหลี่ยม การสักของ

               ผู้ชายล้านนาในอดีตเป็นเรื่องปกติ เมื่ออายุครบ 17 – 18 ปี ส่วนใหญ่จะนิยมสักเพราะมีความเชื่อว่า
               หากสักแล้วสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการหาคู่ครอง เนื่องจากผ่านบททดสอบว่ามีความอดทนต่อ

               ความเจ็บปวดจนสามารถสักได้ส าเร็จ ดังนั้น ผู้ที่สักจะสามารถเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีได้ ผู้หญิงเห็นแล้ว
               ชื่นชอบ ซึ่งจุดเด่นของการสักขาก้อมนั้นเป็นการสักแบบล้านนา ในอดีตหากไปเกี้ยวสาว แล้วไม่มีลายน้ าหมึก

               จะท าให้ถูกล้อเลียนว่าขาขาวเหมือนผู้หญิง และหากขาไม่มีรอยสักก็จะไม่สามารถอาบน้ าในสถานที่เดียวกับ

               ผู้ที่มีรอยสักได้ เพราะบางคนถือว่ารอยสักมีวิชาอาคม ซึ่งการสักขาก้อมเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการเป็น
               ชายเต็มตัว และหลังจากนั้นเมื่อได้บวชเรียนวิชา จึงสักท่อนบนที่มีคาถาอาคม ปัจจุบันวัฒนธรรมสักขาลาย

               ไม่แพร่หลาย และได้รับความนิยมน้อยลง เพราะการสักขาลายต้องใช้เวลาและอดทนต่อความเจ็บปวด

               (พระอาจารย์ศุภชัย ชยสุโภ, 2562)
                         ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับการสัก (Tattoo) เนื่องจากความชื่นชอบส่วนตัว

                                ี
               และเป็นสมัยนิยม อกทั้งการสักสี ได้มีการน าเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวด
               ในการสัก แม้ว่าปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะนิยมสัก แต่การสักขาก้อมยังพบได้น้อยมาก หากเปรียบเทียบกับในอดีต
               และมีแนวโน้มจะเลือนหายและสูญหายไปในอนาคต ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาและบันทึกภูมิปัญญาการสัก

                         ื่
               ขาก้อม เพอประโยชน์ในการรอนุรักษ์การสักขาลายให้คงอยู่คู่สังคมล้านนา มิเช่นนั้นเยาวชนคนรุ่นหลัง
               อาจจะได้เห็นการสักขาลายจากจิตรกรรมฝาผนังหรือภาพเก่า ทั้งนี้ การสักขาก้อมเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์

               ทางสังคม และเต็มไปด้วยความเชื่อของผู้ชายในอดีตที่เชื่อว่า ได้ทดแทนบุญคุณบิดามารดา และเป็นการเปิด
               ประตูจากวัยเด็กสู่วัยหนุ่ม ด้วยเหตุดังกล่าวจึงท าให้ผู้วิจัยศึกษาเรื่อง การอนุรักษ์สักขาก้อมล้านนา

               เพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาการสักขาก้อมล้านนาที่น าไปสู่การอนุรักษ์ต่อไป
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53